Saturday, May 31, 2014

ยุทธศาสตร์อาเซียนปลอดภัย จะอยู่กับใคร จีนหรือสหรัฐฯ


คำอธิบาย: http://www.manager.co.th/images/blank.gif

 


ผู้นำชาติอาเซียน ยืนถ่ายภาพร่วมกันบนเวทีประชุม 4th Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia (CICA) ที่เซี่ยงไฮ้ (21 พ.ค.) (ภาพเอเอฟพี)
คำอธิบาย: http://www.manager.co.th/images/blank.gif
       เอเยนซี - แม้ล่าสุด จีนจะเผชิญความขัดแย้งกับเวียดนาม แต่ผู้เชี่ยวชาญฯ หลายคนยังมองว่าขณะนี้ประเทศจีนมีโอกาสที่ดีกว่าสหรัฐอเมริกา ในการชนะความไว้วางใจของบรรดาชาติอาเซียน
     
       เมื่อวันที่ 20 พ.ค. รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ความสำเร็จของการประชุมสุดยอดผู้นำ Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia (CICA) (การประชุมว่าด้วยการปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย) ในเซี่ยงไฮ้ ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่า สำหรับจีนนั้น ความสัมพันธ์กับกลุ่มชาติอาเซียน เป็นสิ่งที่มีความหมายยิ่ง โดยจีนมีความพยายามสร้างเสถียรภาพในกลุ่มผลประโยชน์ร่วมของภูมิภาคฯ
     
       ข้อเสนอที่จะเสริมสร้างความร่วมมือในทางปฏิบัติ ระหว่างจีนและอาเซียน จะช่วยเพิ่มความไว้วางใจซึ่งกันและกันและพัฒนายุทธศาสตร์เชิงลึก ในความร่วมมือด้านการป้องกัน และการรักษาความปลอดภัย นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของความสัมพันธ์แน่นแฟ้นในหมู่ชาติอาเซียน ขณะที่บทบาทของสหรัฐฯ ในกลุ่มชาติอาเซียน ที่ผ่านๆ รับรู้กันว่ามักจะเป็นไปในทางสนับสนุนชาติอาเซียนให้พิพาทกับจีน โดยเฉพาะในประเด็นอธิปไตยทางทะเล
     
       ที่ผ่านมานั้น บทบาทของจีนในการยื่นมือเข้าช่วยเหลือชาติอาเซียนยามทุกข์ยาก โดยเฉพาะภัยพิบัติธรรมชาติ นับว่าได้สร้างความไว้วางใจให้ชาติต่างๆ มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดว่า จีนมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน รวดเร็วไม่คิดนาน ไม่ตระหนี่ในการบรรเทาภัยพิบัติที่เพื่อนบ้านอาเซียนเผชิญฯ อาทิ ครั้งล่าสุดเมื่อปีที่แล้ว เมื่อพายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนถล่มฟิลิปปินส์ มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 3,976 คน หรือปีก่อนหน้าครั้งพายุโซนร้อนวาชิ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคนในฟิลิปปินส์ แม้กระทั่งตอนเกิดเหตุสึนามิในเอเชียเมื่อปี 2547 และที่ญี่ปุ่นเมื่อสองปีที่แล้ว
     
       หนังสือพิมพ์ โกลบอลไทม์ เคยเขียนในบทบรรณาธิการ ว่า การแสดงความมีน้ำใจแก่ประเทศเพื่อนบ้านในยามจำเป็น และการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้ประสบภัย อย่างไม่เคยลังเล ทำให้จีนได้รับความไว้วางใจมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ก็มีหลายสื่อฯ ที่แสดงความเห็นต่างไป อาทิ เซาท์เทิร์น เดลี่ กล่าวว่า ฟิลิปปินส์ไม่ได้รู้สึกดีกับความช่วยเหลือของจีน
     
       ฉัง ว่านฉวน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจีน ได้กล่าวถึงการผลักดันข้อเสนอเพื่อสร้างความเข้มแข็งในทางปฏิบัติ ซึ่งจะให้ความร่วมมือในด้านของการป้องกันและการรักษาความปลอดภัยอาเซียน ว่าบทบาทของอาเซียน ซึ่งกำลังเติบโตโดดเด่น ทำให้สหรัฐฯ ให้ความสนใจ ด้วยมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของ "การปรับสมดุลอำนาจในเอเชีย" หลังจากก่อนหน้านั้น ในช่วงบริหารของประธานาธิบิดีบิล คลินตัน และจอร์จ ดับเบิลยู บุช ภูมิภาคอาเซียนมีบทบาทเพียงเล็กน้อยในกลยุทธ์ระดับโลกของสหรัฐฯ เพิ่งจะได้กลายเป็นส่วนสำคัญของวาระการประชุมการรักษาความปลอดภัยของรัฐบาลโอบามานี้เอง
     
       จ้าว เสี่ยวโจว นักวิจัยจากศูนย์ความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ ของสถาบันการทหารกองทัพปลดปล่อยประชาชนฯ เชื่อว่า จีนได้เปรียบกว่าสหรัฐฯ ในด้านความไว้วางใจ เพราะเมื่อมองไปยังอนาคตแล้ว ดูเหมือนว่าความร่วมมือระหว่างจีนกับชาติต่างๆ ในอาเซียนดูจะเป็นไปได้ และแก้ปัญหาได้ดีกว่าโดยเฉพาะในการให้ความช่วยเหลือยามทุกข์เดือดร้อน
     
       ที่ผ่านมา จีนยังได้แสดงผลงานในภารกิจเป็นแม่ทัพคุมปราบโจรสลัดที่อ่าวอาเดน และน่านน้ำโซมาเลียอย่างราบคาบ รวมทั้งการช่วยเหลือค้นหาเครื่องบินโดยสารมาเลเซียที่สูญหายไป โดยไม่ติดใจเอาความให้กลายเป็นเรื่องบาดหมางระดับชาติ
     
       จ้าว เสี่ยวโจว กล่าวว่า จีนยังมีข้อได้เปรียบทางการเมืองและเศรษฐกิจซึ่งใกล้ชิดผูกพันกับชาติอาเซียน อันเปรียบเสมือนกงล้อขับเคลื่อนความสัมพันธ์ที่สำคัญ ดังนั้น หากจีนพัฒนาความไว้วางใจในการสร้างเสถียรภาพความมั่นคงเป็นเนื้อเดียวของภูมิภาคอาเซียนได้เมื่อใด เมื่อนั้นภูมิภาคนี้จะเติบโตอย่างที่ไม่เคยเป็นมา
     
       โจว ฟางเย่อ นักวิจัยจากสถาบันยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศแห่งชาติจีน ได้เขียนบทความใน โกลบอล ไทม์ส ว่า สหรัฐฯ กำลังสูญเสียภาพลักษณ์มิตรประเทศ และอาจถูกคนไทยต่อต้านฯ ในบทบาทของการออกมาต่อต้านรัฐประหาร อีกทั้งระงับความช่วยเหลือทางด้านทหารไทย 3.5 ล้านดอลลาร์ โดยประณามรัฐประหารไม่ชอบด้วยกม.
     
       สำนักข่าวเอพี รายงานเมื่อวันที่ 23 พ.ค.ที่ผ่านมา อ้างคำแถลงของ มารี ฮาร์ฟ รองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ว่า รัฐบาลสหรัฐตัดสินใจระงับเงินช่วยเหลือด้านการทหารแก่ไทยในเบื้องต้น 3.5 ล้านดอลลาร์ หลังจากเกิดการรัฐประหารในไทย ขณะเดียวกัน รัฐบาลสหรัฐ ยังกำลังทบทวนความช่วยเหลือระดับทวิภาคีต่อไทย ตลอดจนความช่วยเหลือจากโครงการระดับสากลและระดับภูมิภาคเป็นลำดับต่อไป
     
       ตรงกันข้ามกับท่าทีของจีน ซึ่งออกมาย้ำชัดยังคงราบรื่นฉันท์มิตรเพื่อนบ้านที่ดี แม้การเมืองไทยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงก็ตาม โดยนายฉิน กัง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน ได้กล่าวตอบคำถามผู้สื่อข่าว ระหว่างงานแถลงข่าวประจำวันในวันจันทร์ (26 พ.ค.) ที่ผ่านมา ระบุว่าในฐานะมิตรประเทศเพื่อนบ้าน จีนได้ติดตามสถานการณ์การเมืองในไทยอย่างใกล้ชิด โดยหวังว่าทุกฝ่ายจะรักษาไว้ซึ่งความสงบสันติ อดทนอดกลั้น และร่วมกันแก้ไขปวงปัญหาทั้งหมด ด้วยการเจรจาและปรึกษาหารือเพื่อนำมาซึ่งความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชาติในเร็ววัน
     
       “ไม่ว่าสถานการณ์การเมืองของไทยจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางไหน ความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกันระหว่างจีนกับไทย จะยังคงก้าวเดินหน้าต่อไปนายฉิน กัง กล่าว
     
       โจว ฟางเย่อ กล่าวว่า ในความเป็นจริง รัฐประหารไม่สามารถแก้ปัญหาขัดแย้งการเมืองได้ และอาจจะก่อให้เกิดผลเสียในการปฏิรูปการเมืองสำหรับวันข้างหน้า แต่ก็เป็นมาตรการเร่งด่วนฉุกเฉิน เพื่อแก้ไขระยะสั้น สร้างระเบียบสังคม บังคับให้ทุกฝ่ายหันหน้ากลับเข้าสู่โต๊ะเจรจา นอกจากนั้น กรณีของไทยนี้ แม้รัฐประหารจะไม่ใช่หนทางอุดมคติในการขจัดความขัดแย้ง แต่ก็เป็นทางเลือกที่สอง
     
       "สหรัฐฯ เมินที่จะวิเคราะห์ปัญหาความเป็นจริงของการเมืองในประเทศไทย และมักจากอ้างคำว่าประชาธิปไตยอย่างว่างเปล่า ซึ่งเหตุผลที่น่าสังเกตคือ สหรัฐฯ ห่วงการคุกคามคุณค่าของประชาธิปไตย หรือห่วงยุทธศาสตร์ความมั่นคงของสหรัฐฯ" โจว กล่าวและเสริมความคิดเห็นว่า สหรัฐฯ อาจจะวิตกผลกระทบของการรัฐประหาร ที่จะมีต่อแผนยุทธศาสตร์ในภูมิภาคนี้ เพราะไทยก็เป็นส่วนหนึ่งของแผนฯ ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หากไทยสามารถค้นพบวิถีทางแห่งประชาธิปไตยในรูปแบบของตนเอง ก้าวข้ามความขัดแย้ง และนำไปสู่การเลือกตั้งฯ ได้ นั่นย่อมสร้างความเชื่อมั่นว่าชาติอาเซียนสามารถเติบโตไปได้ในรูปแบบของตนเอง และสหรัฐฯ คงจะลำบากขึ้นในการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับคุณค่าประชาธิปไตยของตน
     
       โจว กล่าวว่าการสะดุดหยุดลงทางการเมืองของไทยตลอดเวลาที่ผ่านมา ทำให้แผนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างจีนและไทยพลอยชะลอตัว ซึ่งเป็นประโยชน์กับสหรัฐอเมริกาที่ไม่จำเป็นต้องลงทุนอะไร แต่สามารถหยุดจีนในการก้าวเชื่อมมาทางด้านชาติอาเซียน ดังนั้น เมื่อการเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้นหลังรัฐประหาร ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างจีนและไทย อาจจะกลับคืนสู่วาระฯ สืบเนื่องด้วยไทยจำเป็นต้องเร่งพัฒนาฟื้นคืนทั้งในด้านสังคมและเศรษฐกิจ และความช่วยเหลือไว้วางใจกันของจีนกับไทย ย่อมเป็นแรงกดดันต่อแผนยุทธศาสตร์ถ่วงดุลอำนาจเอเชียของสหรัฐฯ
     
       โจว สรุปว่า ณ เวลานี้ รัฐบาลสหรัฐฯ คงจะต้องลงทุนลงแรงมากขึ้น เพื่อจะถ่วงดุลย์อำนาจจีนในคาบสมุทรอินโดจีน


แล้วนักศึษาคิดว่า อาเซียนควคจะอิงแอบกับใครดีกว่ากัน เพราะเหตุใด?
(ตอบโดย Comment นะครับ)

Saturday, April 26, 2014

วิเคราะห์สถานการณ์โลก


วิเคราะห์สถานการณ์โลกปัจจุบัน

คำอธิบาย: https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEj46mgjMwnUBhTSTCGp_azN1KFV1qCKK5L4oXH_aDFDWRjsogDOfXawYq-LFV_pbb1ihWdDhK5_1pDTyjHc0WzmWKrxaVl10yei-kRuHE6Hsrod4LkyRiDjin57ZcRXilciEq4U1AenEZg/s320/379251_505352262842600_806753376_n.jpg

 

วิเคราะห์สถานการณ์โลกปัจจุบัน

ช่วง 5 ปีหลัง มี 2 ปรากฏการณ์ใหญ่สนั่นโลก ได้แก่ 
1) วิกฤติเศรษฐกิจโลกในปี 2008 โดยเฉพาะยุโรปและอเมริกา และ 
2) ปรากฏการณ์ปฏิวัติดอกมะลิ (Arab spring) ทีเริ่มต้นตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมปี 2011 และได้บานปลายจนกระทั่งปัจจุบัน

เป็นที่น่าสังเกตว่า ทั้ง 2 เหตุการณ์ดังกล่าว ไม่มีความเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ 9/11 เมื่อปี 2001 ที่ผ่านมา ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นเหตุการณ์สั่นสะเทือน "ภาพมายาคติ (Myth)" ความยิ่งใหญ่ของสหรัฐฯที่ถูกท้าทายจาก"ขบวนการก่อการร้าย "(Terrorism) ตามหลักหมุดของสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นวาทกรรม (Discourse) ในสังคมการเมืองระหว่างประเทศที่ผ่านการผลิตและผลิตซ้ำ (Reproduce) โดยสหรัฐฯ เพื่อสร้างความชอบธรรมในการรุกรานชาติอื่นๆ โดยเฉพาะชาติอาหรับและอิสลาม ภายใต้นโยบายชิงโจมตีก่อน (Preemtion) ตลอดจนความพยายามที่จะสถาปนา "ระเบียบโลกใหม่" (New World Order) ให้หมุนตามความต้องการของวอชิงตัน

 วิกฤติเศรษฐกิจยุโรป ได้สร้างบทเรียนมากมายที่สะท้อนถึงการล่มสลายของวิถีชีวิตขั้นพื้นฐานของยุโรป เป็นภาวะการชะงักงันการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือการเติบโตที่เป็นศูนย์ (Zero Growth) ที่มีสาเหตุสำคัญเนื่องจากเกิดช่องว่างระหว่างวัยที่สูงมาก กล่าวคือประชากรยุโรปมีวัยที่เลยเกษียณเป็นจำนวนมาก กลุ่มนี้ไม่มีบทบาทในการกระตุ้นหรือขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ยุโรปจึงไม่มีวัยทำงานที่มีจำนวนเพียงพอในการขับเคลื่อนในเรื่องนี้ เนื่องจากยุโรปล้มเหลวในการผลิตชนรุ่นใหม่ที่มีความทะเยอทะยานและมุ่งมั่นทำงาน ทั้งนี้เพราะโครงการคุมกำเนิดที่ดำเนินโดยยุโรปช่วงกึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ได้ทำลายโครงสร้างของสถาบันครอบครัว ที่แต่ละคนมุ่งแต่ใช้สถาบันนี้เป็นเพียงแหล่งบันเทิงทางกามารมณ์ภายใต้แนวคิดเซ็กส์เสรีเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อเป็นแหล่งผลิตอนุชนที่ดีและมีคุณภาพตามวัตถุประสงค์ที่แท้จริง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เพราะยุโรปใช้น้ำ(อสุจิ)ที่ไม่ก่อประโยชน์ อันใดเลย เป็นการปล่อยน้ำฟุ่มเฟือย ไร้การควบคุม ยุโรปจึงไม่สามารถผลิตทรัพยากรมนุษย์จากน้ำที่อัลลอฮฺประทานให้เนื่องจากจมปลักในแนวคิดเซ็กส์เสรี ทั้งๆที่อัลลอฮฺได้สร้างทุกสิ่งที่มีชีวิตมาจากน้ำทั้งสิ้น

 วิกฤตินี้จึงไม่สามารถแก้ไขเยียวยาได้ในระยะเวลาอันสั้น มันเป็นปรากฏการณ์ฟองสบู่แตกจากฐานรากในสังคมที่ถูกหมักหมมมานาน และเป็นอุบายประการหนึ่งของอัลลอฮฺที่ต้องการทำลายประชาชาติที่อหังการจากแกนของมัน ดังที่อัลลอฮฺได้กล่าวในอัลกุรอานความว่า " ผู้ที่วางรากฐานอาคารของเขาบนความยำเกรงต่ออัลลอฮ์ และบนความโปรดปรานนั้นดีกว่าหรือว่าผู้ที่วางรากฐานอาคารของเขาบนริมขอบเหวที่จะพังทลายลง แล้วมันก็พัง นำเขาลงไปในนรกและอัลลอฮ์นั้นจะไม่ชี้แนะทางแก่กลุ่มชนที่อธรรม" (อัตเตาบะฮฺ /109)

 สาเหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ผลักยุโรปเข้าไปในวังวนวิกฤติเศรษฐกิจคือวิถีแห่งความฟุ่มเฟือยที่ซึมลึกเข้าไปในวัฒนธรรมบริโภคนิยมของชาวยุโรป ในอัลกุรอานใช้คำว่า الترف หมายถึงฟุ่มเฟือยหลายที่ด้วยกัน และแต่ละครั้งก็จะเกี่ยวโยงกับความอยุติธรรมในสังคม ซึ่งเป็นต้นตอของความล่มสลายของประชาชาติในที่สุด จนกระทั่งมีคนกล่าวว่า "ฉันไม่เห็นความฟุ่มเฟือยในสังคมใด นอกจากว่าในสังคมนั้นมีความอยุติธรรมควบคู่อยู่เสมอ"

ما رايت اسرافا الا وبجانبه ظلم

พฤติกรรมบริโภคนิยมของยุโรป เป็นสิ่งที่ยากที่จะแก้ไขได้ เพราะมันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตไปแล้ว ยุโรปจึงต้องการสะสมทรัพยากรมหาศาลมาจุนเจืออยู่ตลอดเวลา เนื่องจากทรัพยากรในประเทศมีจำนวนจำกัด พวกเขาจึงต้องไปปล้นสะดมทั่วโลกตั้งแต่อดีตและปัจจุบัน สงครามอ่าวที่ผ่านมาน่าจะเป็นสิ่งยืนยันในเรื่องนี้ดี

วัฒนธรรมบริโภคนิยมได้ซึมลึกเข้าไปในวิถีชีวิตของชาวยุโรป ประเทศไม่มีวัยทำงานที่เพียงพอกับความต้องการทางเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง พวกเขาบริโภคเกินความต้องการที่จำเป็นในชีวิตและเกินกว่าฐานะรายได้หรือความสามารถในการผลิตของคนหรือของประเทศ ทำให้ประเทศต้องแบกภาระหนี้มหาศาล ในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคนิยมได้ในระยะเวลาอันสั้น ถือเป็นการทำลายอารยธรรมจากรากฐาน และทำให้อารยธรรมนี้พังครืนไปในที่สุด

คล้อยหลังวิกฤติเศรษฐกิจยุโรป 3 ปี ก็เกิดเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน แม้กระทั่งผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์สถานการณ์โลกทุกสำนักในโลกนี้ แม้กระทั่งนักทำงานอิสลามนานาชาติก็ไม่เคยวิเคระห์มาก่อนเลยว่าจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ถึงขนาดเคยมีคำกล่าวว่า เราไม่เชื่อกับวิธีการปฏิวัติ และไม่เชื่อว่าการปฏิวัติจะเกิดผลประโยชน์อันใดเลย

 Arab Spring จึงเป็นปรากฏการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองที่กำลังลุกลามอยู่ในโลกเวลานี้ มีชื่อเรียกว่าการปฏิวัติดอกมะลิหรือ The Jasmine Revolution เนื่องจากการปฏิวัติดังกล่าวเริ่มต้นที่ประเทศตูนิเซีย ซึ่งมีดอกมะลิเป็นดอกไม้ประจำชาติ ต่อมาลุกลามไปที่อิยิปต์ ลิเบีย เยเมน และขณะนี้กำลังคุกรุ่นอยู่ที่ซีเรีย ซึ่งถือเป็นโฉมใหม่ของการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอิสลามในไม่ช้านี้ เพราะการปฏิวัติประชาชนก่อนหน้านี้ถือเป็นการลุกฮือของประชาชนเพื่อขับไล่รัฐบาลเผด็จการของแต่ละประเทศเท่านั้น แต่เหตุการณ์ที่ซีเรียนอกจากต้องการทำลายฐานอำนาจเก่าที่ปกครองประเทศโดยกองกำลังอันป่าเถื่อนแล้ว ยังเป็นการกระชากหน้ากากของผู้อยู่เบื้องหลังของผู้แอบอ้างอิสลามเพื่อทำลายอิสลามจากภายในอีกด้วย เป็นการเปิดโปงแผนร้ายของทฤษฎีร่วมสมคบคิดของศัตรูอิสลามที่ใช้ชื่ออิสลามหลอกลวงชาวโลกมาเกือบครึ่งศตวรรษ

ชัยค์อะลีย์ อัศศอบูนีย์ หะฟิเศาะฮุลลอฮฺได้กล่าวระหว่างทัวร์ความรู้ในประเทศมาเลเชียและอินโดนีเซียช่วงปลายปี 2012 ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ซีเรียเป็นสงครามเพื่อความอยู่รอดระหว่างขั้ว لا اله الا الله และขั้ว لا اله الا بشار เลยทีเดียว ซึ่งขั้วแรกจะต้องได้รับชัยชนะอย่างไม่ต้องสงสัย

 ทั้ง 2 เหตุการณ์ที่สะเทือนโลกนี้ เป็นการยืนยันทฤษฎี กงล้อทางอารยธรรม التدوال الحضاري เพราะหากความเจริญของสังคมทุกสังคมย่อมมีที่มาที่ไปของมัน การล่มสลายของแต่ละสังคมย่อมมีเหตุผลของมันเช่นกัน ดังนั้นทฤษฎีกงล้อทางอารยธรรม จึงเป็นธรรมชาติของสังคมมนุษย์ที่มีภาวะขึ้นลงตามวิถีของมัน ถือเป็นอายุขัยของแต่ละประชาชาติและอารยธรรมในทุกยุคทุกสมัย เป็นการขึ้นลงที่มีความสมดุลตามวิถีของอัลลอฮฺ (สุนนะตุลลอฮฺ) ล้อเกวียนจะหมุนเร็วเท่าไหร่ ทุกองคาพยพในสังคมก็จะหมุนตามจังหวะนั้นตามไปด้วย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าอารยธรรมใดที่เคยอยู่ส่วนบนได้ล่มสลายไปอย่างรวดเร็วฉันใด อารยธรรมอื่นก็จะขึ้นมาแทนที่อย่างรวดเร็วฉันนั้น

 
الايام نداولها بين الناس وليعلم الله الذين امنوا ويتخذ منكم شهداء والله لا يحب الظالمين

 "และบรรดาวันเหล่านั้นเราได้ให้มันหมุนเวียนไประหว่างมนุษย์ และเพื่ออัลลอฮ์จะได้ทรงรับรู้บรรดาผู้ที่ศรัทธา และเพื่อคัดเลือกบรรดาผู้ตายชะฮีดจากพวกเจ้าและอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงรักใคร่ผู้อธรรมทั้งหลาย" (อาละอิมรอน / 140)

หลายฝ่าย ฟันธงว่า อารยธรรมอื่นๆ บนโลกขณะนี้ได้หมดความชอบธรรมที่จะเป็นแกนกลางในการนำประชาชาติไปแล้ว จึงเหลือเพียงอารยธรรมอิสลามเท่านั้นที่จะมาแทนที่อารยธรรมที่ล่มสลายไปแล้ว คำถามก็คือ แล้วประชาชาติมุสลิมมีความพร้อมที่จะอยู่ด้านบนสุดของล้อเกวียนมากน้อยแค่ไหน

 ที่มา : คณะกรรมการพัฒนาเครือข่ายสันติศึกษา สถาบันอัสสลาม มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา 
เขียนโดย ISLAMIC NATION ที่ 05:51

Facebook สถานการณ์โลก

อยากให้นักศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม
สนใจสามารถเข้าชม ตาม Link ด้านล่างนี้นะครับ
https://www.facebook.com/situation789

Saturday, April 19, 2014

คำถามเรื่อง "New World Order"

เสริจสิ้นเทศกาลหยุดยาวแล้ว นักศึกษาทุกท่าน เรากลับมาเรียน/แลกเปลี่ยนกันต่อนะครับ ต้องการให้นักศึกษา ศึกษาเรื่อง แนวคิด New World Order ทั้งจากบทความที่นำเสนอไว้ให้ หรือจากเอกสารอื่นๆ ที่นักศึกษาควรที่จะแสวงหา/ค้นคว้า เพิ่มเติม แล้วนำมาแลกเปลี่ยนกัน ศึกษาแล้ว ขอนำเสนอแนวคิดของนักศึกษาว่า "การเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อให้โลกนี้เราเป็นหนึ่งเดียวตามแนวคิดการจัดระเบียบโลกใหม่ นักศึกษาคิดว่า แนวคิดนี้ มีโอกาสเป็นจริงหรือไม่ เพราะเหตุใด


Saturday, March 22, 2014

จะเกิดอะไรขึ้นถ้ามีสงครามระหว่างดวงดาว(Star War)

นักศึกษาคิดว่า โลกนี้จะเป็นอย่างไร จะมีอะไรเกิดขึ้นถ้าโลกของเรามีสงครามระหว่างโลกกับดาวดวงอื่นๆ อย่างหนังเรื่อง STAR WAR

กรุณานำเสนอความคิดเห็น ผ่านการ comments. ใน blog นี้

อ.สุริยะ พิศิษฐอรรถการ
23/3/57


Sunday, March 9, 2014

เพื่อนเราวันนี้






















งานมอบหมาย ให้ดูวิดีโอ จากห้วข้อ "กลยุทธ์รองรับประชาคม ASEAN โดย ดร.สุรินทร์  พิศสุวรรณ









สาระสำคัญของการเรียนวันนี้ (9/3/57)

รายวิชาสัลคมโลก กล่าวได้ว่ามีเนืีอหาสาระกล้างมาก หากจะทำเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มีความจำเป็นต้องรู้ข้อมูลพื้นฐานของโลกนี้เช่นกัน อย่างน้อยที่สุดอาจจะต้องรู้วีาในโลกนี้มีประเทศอะไรบ้าง นักศึกษาจึงร่วมกันเขียน mindmap  ดังนี้