Saturday, May 31, 2014

ยุทธศาสตร์อาเซียนปลอดภัย จะอยู่กับใคร จีนหรือสหรัฐฯ


คำอธิบาย: http://www.manager.co.th/images/blank.gif

 


ผู้นำชาติอาเซียน ยืนถ่ายภาพร่วมกันบนเวทีประชุม 4th Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia (CICA) ที่เซี่ยงไฮ้ (21 พ.ค.) (ภาพเอเอฟพี)
คำอธิบาย: http://www.manager.co.th/images/blank.gif
       เอเยนซี - แม้ล่าสุด จีนจะเผชิญความขัดแย้งกับเวียดนาม แต่ผู้เชี่ยวชาญฯ หลายคนยังมองว่าขณะนี้ประเทศจีนมีโอกาสที่ดีกว่าสหรัฐอเมริกา ในการชนะความไว้วางใจของบรรดาชาติอาเซียน
     
       เมื่อวันที่ 20 พ.ค. รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ความสำเร็จของการประชุมสุดยอดผู้นำ Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia (CICA) (การประชุมว่าด้วยการปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย) ในเซี่ยงไฮ้ ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่า สำหรับจีนนั้น ความสัมพันธ์กับกลุ่มชาติอาเซียน เป็นสิ่งที่มีความหมายยิ่ง โดยจีนมีความพยายามสร้างเสถียรภาพในกลุ่มผลประโยชน์ร่วมของภูมิภาคฯ
     
       ข้อเสนอที่จะเสริมสร้างความร่วมมือในทางปฏิบัติ ระหว่างจีนและอาเซียน จะช่วยเพิ่มความไว้วางใจซึ่งกันและกันและพัฒนายุทธศาสตร์เชิงลึก ในความร่วมมือด้านการป้องกัน และการรักษาความปลอดภัย นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของความสัมพันธ์แน่นแฟ้นในหมู่ชาติอาเซียน ขณะที่บทบาทของสหรัฐฯ ในกลุ่มชาติอาเซียน ที่ผ่านๆ รับรู้กันว่ามักจะเป็นไปในทางสนับสนุนชาติอาเซียนให้พิพาทกับจีน โดยเฉพาะในประเด็นอธิปไตยทางทะเล
     
       ที่ผ่านมานั้น บทบาทของจีนในการยื่นมือเข้าช่วยเหลือชาติอาเซียนยามทุกข์ยาก โดยเฉพาะภัยพิบัติธรรมชาติ นับว่าได้สร้างความไว้วางใจให้ชาติต่างๆ มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดว่า จีนมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน รวดเร็วไม่คิดนาน ไม่ตระหนี่ในการบรรเทาภัยพิบัติที่เพื่อนบ้านอาเซียนเผชิญฯ อาทิ ครั้งล่าสุดเมื่อปีที่แล้ว เมื่อพายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนถล่มฟิลิปปินส์ มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 3,976 คน หรือปีก่อนหน้าครั้งพายุโซนร้อนวาชิ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคนในฟิลิปปินส์ แม้กระทั่งตอนเกิดเหตุสึนามิในเอเชียเมื่อปี 2547 และที่ญี่ปุ่นเมื่อสองปีที่แล้ว
     
       หนังสือพิมพ์ โกลบอลไทม์ เคยเขียนในบทบรรณาธิการ ว่า การแสดงความมีน้ำใจแก่ประเทศเพื่อนบ้านในยามจำเป็น และการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้ประสบภัย อย่างไม่เคยลังเล ทำให้จีนได้รับความไว้วางใจมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ก็มีหลายสื่อฯ ที่แสดงความเห็นต่างไป อาทิ เซาท์เทิร์น เดลี่ กล่าวว่า ฟิลิปปินส์ไม่ได้รู้สึกดีกับความช่วยเหลือของจีน
     
       ฉัง ว่านฉวน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจีน ได้กล่าวถึงการผลักดันข้อเสนอเพื่อสร้างความเข้มแข็งในทางปฏิบัติ ซึ่งจะให้ความร่วมมือในด้านของการป้องกันและการรักษาความปลอดภัยอาเซียน ว่าบทบาทของอาเซียน ซึ่งกำลังเติบโตโดดเด่น ทำให้สหรัฐฯ ให้ความสนใจ ด้วยมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของ "การปรับสมดุลอำนาจในเอเชีย" หลังจากก่อนหน้านั้น ในช่วงบริหารของประธานาธิบิดีบิล คลินตัน และจอร์จ ดับเบิลยู บุช ภูมิภาคอาเซียนมีบทบาทเพียงเล็กน้อยในกลยุทธ์ระดับโลกของสหรัฐฯ เพิ่งจะได้กลายเป็นส่วนสำคัญของวาระการประชุมการรักษาความปลอดภัยของรัฐบาลโอบามานี้เอง
     
       จ้าว เสี่ยวโจว นักวิจัยจากศูนย์ความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ ของสถาบันการทหารกองทัพปลดปล่อยประชาชนฯ เชื่อว่า จีนได้เปรียบกว่าสหรัฐฯ ในด้านความไว้วางใจ เพราะเมื่อมองไปยังอนาคตแล้ว ดูเหมือนว่าความร่วมมือระหว่างจีนกับชาติต่างๆ ในอาเซียนดูจะเป็นไปได้ และแก้ปัญหาได้ดีกว่าโดยเฉพาะในการให้ความช่วยเหลือยามทุกข์เดือดร้อน
     
       ที่ผ่านมา จีนยังได้แสดงผลงานในภารกิจเป็นแม่ทัพคุมปราบโจรสลัดที่อ่าวอาเดน และน่านน้ำโซมาเลียอย่างราบคาบ รวมทั้งการช่วยเหลือค้นหาเครื่องบินโดยสารมาเลเซียที่สูญหายไป โดยไม่ติดใจเอาความให้กลายเป็นเรื่องบาดหมางระดับชาติ
     
       จ้าว เสี่ยวโจว กล่าวว่า จีนยังมีข้อได้เปรียบทางการเมืองและเศรษฐกิจซึ่งใกล้ชิดผูกพันกับชาติอาเซียน อันเปรียบเสมือนกงล้อขับเคลื่อนความสัมพันธ์ที่สำคัญ ดังนั้น หากจีนพัฒนาความไว้วางใจในการสร้างเสถียรภาพความมั่นคงเป็นเนื้อเดียวของภูมิภาคอาเซียนได้เมื่อใด เมื่อนั้นภูมิภาคนี้จะเติบโตอย่างที่ไม่เคยเป็นมา
     
       โจว ฟางเย่อ นักวิจัยจากสถาบันยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศแห่งชาติจีน ได้เขียนบทความใน โกลบอล ไทม์ส ว่า สหรัฐฯ กำลังสูญเสียภาพลักษณ์มิตรประเทศ และอาจถูกคนไทยต่อต้านฯ ในบทบาทของการออกมาต่อต้านรัฐประหาร อีกทั้งระงับความช่วยเหลือทางด้านทหารไทย 3.5 ล้านดอลลาร์ โดยประณามรัฐประหารไม่ชอบด้วยกม.
     
       สำนักข่าวเอพี รายงานเมื่อวันที่ 23 พ.ค.ที่ผ่านมา อ้างคำแถลงของ มารี ฮาร์ฟ รองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ว่า รัฐบาลสหรัฐตัดสินใจระงับเงินช่วยเหลือด้านการทหารแก่ไทยในเบื้องต้น 3.5 ล้านดอลลาร์ หลังจากเกิดการรัฐประหารในไทย ขณะเดียวกัน รัฐบาลสหรัฐ ยังกำลังทบทวนความช่วยเหลือระดับทวิภาคีต่อไทย ตลอดจนความช่วยเหลือจากโครงการระดับสากลและระดับภูมิภาคเป็นลำดับต่อไป
     
       ตรงกันข้ามกับท่าทีของจีน ซึ่งออกมาย้ำชัดยังคงราบรื่นฉันท์มิตรเพื่อนบ้านที่ดี แม้การเมืองไทยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงก็ตาม โดยนายฉิน กัง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน ได้กล่าวตอบคำถามผู้สื่อข่าว ระหว่างงานแถลงข่าวประจำวันในวันจันทร์ (26 พ.ค.) ที่ผ่านมา ระบุว่าในฐานะมิตรประเทศเพื่อนบ้าน จีนได้ติดตามสถานการณ์การเมืองในไทยอย่างใกล้ชิด โดยหวังว่าทุกฝ่ายจะรักษาไว้ซึ่งความสงบสันติ อดทนอดกลั้น และร่วมกันแก้ไขปวงปัญหาทั้งหมด ด้วยการเจรจาและปรึกษาหารือเพื่อนำมาซึ่งความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชาติในเร็ววัน
     
       “ไม่ว่าสถานการณ์การเมืองของไทยจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางไหน ความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกันระหว่างจีนกับไทย จะยังคงก้าวเดินหน้าต่อไปนายฉิน กัง กล่าว
     
       โจว ฟางเย่อ กล่าวว่า ในความเป็นจริง รัฐประหารไม่สามารถแก้ปัญหาขัดแย้งการเมืองได้ และอาจจะก่อให้เกิดผลเสียในการปฏิรูปการเมืองสำหรับวันข้างหน้า แต่ก็เป็นมาตรการเร่งด่วนฉุกเฉิน เพื่อแก้ไขระยะสั้น สร้างระเบียบสังคม บังคับให้ทุกฝ่ายหันหน้ากลับเข้าสู่โต๊ะเจรจา นอกจากนั้น กรณีของไทยนี้ แม้รัฐประหารจะไม่ใช่หนทางอุดมคติในการขจัดความขัดแย้ง แต่ก็เป็นทางเลือกที่สอง
     
       "สหรัฐฯ เมินที่จะวิเคราะห์ปัญหาความเป็นจริงของการเมืองในประเทศไทย และมักจากอ้างคำว่าประชาธิปไตยอย่างว่างเปล่า ซึ่งเหตุผลที่น่าสังเกตคือ สหรัฐฯ ห่วงการคุกคามคุณค่าของประชาธิปไตย หรือห่วงยุทธศาสตร์ความมั่นคงของสหรัฐฯ" โจว กล่าวและเสริมความคิดเห็นว่า สหรัฐฯ อาจจะวิตกผลกระทบของการรัฐประหาร ที่จะมีต่อแผนยุทธศาสตร์ในภูมิภาคนี้ เพราะไทยก็เป็นส่วนหนึ่งของแผนฯ ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หากไทยสามารถค้นพบวิถีทางแห่งประชาธิปไตยในรูปแบบของตนเอง ก้าวข้ามความขัดแย้ง และนำไปสู่การเลือกตั้งฯ ได้ นั่นย่อมสร้างความเชื่อมั่นว่าชาติอาเซียนสามารถเติบโตไปได้ในรูปแบบของตนเอง และสหรัฐฯ คงจะลำบากขึ้นในการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับคุณค่าประชาธิปไตยของตน
     
       โจว กล่าวว่าการสะดุดหยุดลงทางการเมืองของไทยตลอดเวลาที่ผ่านมา ทำให้แผนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างจีนและไทยพลอยชะลอตัว ซึ่งเป็นประโยชน์กับสหรัฐอเมริกาที่ไม่จำเป็นต้องลงทุนอะไร แต่สามารถหยุดจีนในการก้าวเชื่อมมาทางด้านชาติอาเซียน ดังนั้น เมื่อการเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้นหลังรัฐประหาร ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างจีนและไทย อาจจะกลับคืนสู่วาระฯ สืบเนื่องด้วยไทยจำเป็นต้องเร่งพัฒนาฟื้นคืนทั้งในด้านสังคมและเศรษฐกิจ และความช่วยเหลือไว้วางใจกันของจีนกับไทย ย่อมเป็นแรงกดดันต่อแผนยุทธศาสตร์ถ่วงดุลอำนาจเอเชียของสหรัฐฯ
     
       โจว สรุปว่า ณ เวลานี้ รัฐบาลสหรัฐฯ คงจะต้องลงทุนลงแรงมากขึ้น เพื่อจะถ่วงดุลย์อำนาจจีนในคาบสมุทรอินโดจีน


แล้วนักศึษาคิดว่า อาเซียนควคจะอิงแอบกับใครดีกว่ากัน เพราะเหตุใด?
(ตอบโดย Comment นะครับ)

Saturday, April 26, 2014

วิเคราะห์สถานการณ์โลก


วิเคราะห์สถานการณ์โลกปัจจุบัน

คำอธิบาย: https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEj46mgjMwnUBhTSTCGp_azN1KFV1qCKK5L4oXH_aDFDWRjsogDOfXawYq-LFV_pbb1ihWdDhK5_1pDTyjHc0WzmWKrxaVl10yei-kRuHE6Hsrod4LkyRiDjin57ZcRXilciEq4U1AenEZg/s320/379251_505352262842600_806753376_n.jpg

 

วิเคราะห์สถานการณ์โลกปัจจุบัน

ช่วง 5 ปีหลัง มี 2 ปรากฏการณ์ใหญ่สนั่นโลก ได้แก่ 
1) วิกฤติเศรษฐกิจโลกในปี 2008 โดยเฉพาะยุโรปและอเมริกา และ 
2) ปรากฏการณ์ปฏิวัติดอกมะลิ (Arab spring) ทีเริ่มต้นตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมปี 2011 และได้บานปลายจนกระทั่งปัจจุบัน

เป็นที่น่าสังเกตว่า ทั้ง 2 เหตุการณ์ดังกล่าว ไม่มีความเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ 9/11 เมื่อปี 2001 ที่ผ่านมา ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นเหตุการณ์สั่นสะเทือน "ภาพมายาคติ (Myth)" ความยิ่งใหญ่ของสหรัฐฯที่ถูกท้าทายจาก"ขบวนการก่อการร้าย "(Terrorism) ตามหลักหมุดของสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นวาทกรรม (Discourse) ในสังคมการเมืองระหว่างประเทศที่ผ่านการผลิตและผลิตซ้ำ (Reproduce) โดยสหรัฐฯ เพื่อสร้างความชอบธรรมในการรุกรานชาติอื่นๆ โดยเฉพาะชาติอาหรับและอิสลาม ภายใต้นโยบายชิงโจมตีก่อน (Preemtion) ตลอดจนความพยายามที่จะสถาปนา "ระเบียบโลกใหม่" (New World Order) ให้หมุนตามความต้องการของวอชิงตัน

 วิกฤติเศรษฐกิจยุโรป ได้สร้างบทเรียนมากมายที่สะท้อนถึงการล่มสลายของวิถีชีวิตขั้นพื้นฐานของยุโรป เป็นภาวะการชะงักงันการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือการเติบโตที่เป็นศูนย์ (Zero Growth) ที่มีสาเหตุสำคัญเนื่องจากเกิดช่องว่างระหว่างวัยที่สูงมาก กล่าวคือประชากรยุโรปมีวัยที่เลยเกษียณเป็นจำนวนมาก กลุ่มนี้ไม่มีบทบาทในการกระตุ้นหรือขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ยุโรปจึงไม่มีวัยทำงานที่มีจำนวนเพียงพอในการขับเคลื่อนในเรื่องนี้ เนื่องจากยุโรปล้มเหลวในการผลิตชนรุ่นใหม่ที่มีความทะเยอทะยานและมุ่งมั่นทำงาน ทั้งนี้เพราะโครงการคุมกำเนิดที่ดำเนินโดยยุโรปช่วงกึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ได้ทำลายโครงสร้างของสถาบันครอบครัว ที่แต่ละคนมุ่งแต่ใช้สถาบันนี้เป็นเพียงแหล่งบันเทิงทางกามารมณ์ภายใต้แนวคิดเซ็กส์เสรีเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อเป็นแหล่งผลิตอนุชนที่ดีและมีคุณภาพตามวัตถุประสงค์ที่แท้จริง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เพราะยุโรปใช้น้ำ(อสุจิ)ที่ไม่ก่อประโยชน์ อันใดเลย เป็นการปล่อยน้ำฟุ่มเฟือย ไร้การควบคุม ยุโรปจึงไม่สามารถผลิตทรัพยากรมนุษย์จากน้ำที่อัลลอฮฺประทานให้เนื่องจากจมปลักในแนวคิดเซ็กส์เสรี ทั้งๆที่อัลลอฮฺได้สร้างทุกสิ่งที่มีชีวิตมาจากน้ำทั้งสิ้น

 วิกฤตินี้จึงไม่สามารถแก้ไขเยียวยาได้ในระยะเวลาอันสั้น มันเป็นปรากฏการณ์ฟองสบู่แตกจากฐานรากในสังคมที่ถูกหมักหมมมานาน และเป็นอุบายประการหนึ่งของอัลลอฮฺที่ต้องการทำลายประชาชาติที่อหังการจากแกนของมัน ดังที่อัลลอฮฺได้กล่าวในอัลกุรอานความว่า " ผู้ที่วางรากฐานอาคารของเขาบนความยำเกรงต่ออัลลอฮ์ และบนความโปรดปรานนั้นดีกว่าหรือว่าผู้ที่วางรากฐานอาคารของเขาบนริมขอบเหวที่จะพังทลายลง แล้วมันก็พัง นำเขาลงไปในนรกและอัลลอฮ์นั้นจะไม่ชี้แนะทางแก่กลุ่มชนที่อธรรม" (อัตเตาบะฮฺ /109)

 สาเหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ผลักยุโรปเข้าไปในวังวนวิกฤติเศรษฐกิจคือวิถีแห่งความฟุ่มเฟือยที่ซึมลึกเข้าไปในวัฒนธรรมบริโภคนิยมของชาวยุโรป ในอัลกุรอานใช้คำว่า الترف หมายถึงฟุ่มเฟือยหลายที่ด้วยกัน และแต่ละครั้งก็จะเกี่ยวโยงกับความอยุติธรรมในสังคม ซึ่งเป็นต้นตอของความล่มสลายของประชาชาติในที่สุด จนกระทั่งมีคนกล่าวว่า "ฉันไม่เห็นความฟุ่มเฟือยในสังคมใด นอกจากว่าในสังคมนั้นมีความอยุติธรรมควบคู่อยู่เสมอ"

ما رايت اسرافا الا وبجانبه ظلم

พฤติกรรมบริโภคนิยมของยุโรป เป็นสิ่งที่ยากที่จะแก้ไขได้ เพราะมันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตไปแล้ว ยุโรปจึงต้องการสะสมทรัพยากรมหาศาลมาจุนเจืออยู่ตลอดเวลา เนื่องจากทรัพยากรในประเทศมีจำนวนจำกัด พวกเขาจึงต้องไปปล้นสะดมทั่วโลกตั้งแต่อดีตและปัจจุบัน สงครามอ่าวที่ผ่านมาน่าจะเป็นสิ่งยืนยันในเรื่องนี้ดี

วัฒนธรรมบริโภคนิยมได้ซึมลึกเข้าไปในวิถีชีวิตของชาวยุโรป ประเทศไม่มีวัยทำงานที่เพียงพอกับความต้องการทางเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง พวกเขาบริโภคเกินความต้องการที่จำเป็นในชีวิตและเกินกว่าฐานะรายได้หรือความสามารถในการผลิตของคนหรือของประเทศ ทำให้ประเทศต้องแบกภาระหนี้มหาศาล ในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคนิยมได้ในระยะเวลาอันสั้น ถือเป็นการทำลายอารยธรรมจากรากฐาน และทำให้อารยธรรมนี้พังครืนไปในที่สุด

คล้อยหลังวิกฤติเศรษฐกิจยุโรป 3 ปี ก็เกิดเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน แม้กระทั่งผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์สถานการณ์โลกทุกสำนักในโลกนี้ แม้กระทั่งนักทำงานอิสลามนานาชาติก็ไม่เคยวิเคระห์มาก่อนเลยว่าจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ถึงขนาดเคยมีคำกล่าวว่า เราไม่เชื่อกับวิธีการปฏิวัติ และไม่เชื่อว่าการปฏิวัติจะเกิดผลประโยชน์อันใดเลย

 Arab Spring จึงเป็นปรากฏการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองที่กำลังลุกลามอยู่ในโลกเวลานี้ มีชื่อเรียกว่าการปฏิวัติดอกมะลิหรือ The Jasmine Revolution เนื่องจากการปฏิวัติดังกล่าวเริ่มต้นที่ประเทศตูนิเซีย ซึ่งมีดอกมะลิเป็นดอกไม้ประจำชาติ ต่อมาลุกลามไปที่อิยิปต์ ลิเบีย เยเมน และขณะนี้กำลังคุกรุ่นอยู่ที่ซีเรีย ซึ่งถือเป็นโฉมใหม่ของการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอิสลามในไม่ช้านี้ เพราะการปฏิวัติประชาชนก่อนหน้านี้ถือเป็นการลุกฮือของประชาชนเพื่อขับไล่รัฐบาลเผด็จการของแต่ละประเทศเท่านั้น แต่เหตุการณ์ที่ซีเรียนอกจากต้องการทำลายฐานอำนาจเก่าที่ปกครองประเทศโดยกองกำลังอันป่าเถื่อนแล้ว ยังเป็นการกระชากหน้ากากของผู้อยู่เบื้องหลังของผู้แอบอ้างอิสลามเพื่อทำลายอิสลามจากภายในอีกด้วย เป็นการเปิดโปงแผนร้ายของทฤษฎีร่วมสมคบคิดของศัตรูอิสลามที่ใช้ชื่ออิสลามหลอกลวงชาวโลกมาเกือบครึ่งศตวรรษ

ชัยค์อะลีย์ อัศศอบูนีย์ หะฟิเศาะฮุลลอฮฺได้กล่าวระหว่างทัวร์ความรู้ในประเทศมาเลเชียและอินโดนีเซียช่วงปลายปี 2012 ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ซีเรียเป็นสงครามเพื่อความอยู่รอดระหว่างขั้ว لا اله الا الله และขั้ว لا اله الا بشار เลยทีเดียว ซึ่งขั้วแรกจะต้องได้รับชัยชนะอย่างไม่ต้องสงสัย

 ทั้ง 2 เหตุการณ์ที่สะเทือนโลกนี้ เป็นการยืนยันทฤษฎี กงล้อทางอารยธรรม التدوال الحضاري เพราะหากความเจริญของสังคมทุกสังคมย่อมมีที่มาที่ไปของมัน การล่มสลายของแต่ละสังคมย่อมมีเหตุผลของมันเช่นกัน ดังนั้นทฤษฎีกงล้อทางอารยธรรม จึงเป็นธรรมชาติของสังคมมนุษย์ที่มีภาวะขึ้นลงตามวิถีของมัน ถือเป็นอายุขัยของแต่ละประชาชาติและอารยธรรมในทุกยุคทุกสมัย เป็นการขึ้นลงที่มีความสมดุลตามวิถีของอัลลอฮฺ (สุนนะตุลลอฮฺ) ล้อเกวียนจะหมุนเร็วเท่าไหร่ ทุกองคาพยพในสังคมก็จะหมุนตามจังหวะนั้นตามไปด้วย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าอารยธรรมใดที่เคยอยู่ส่วนบนได้ล่มสลายไปอย่างรวดเร็วฉันใด อารยธรรมอื่นก็จะขึ้นมาแทนที่อย่างรวดเร็วฉันนั้น

 
الايام نداولها بين الناس وليعلم الله الذين امنوا ويتخذ منكم شهداء والله لا يحب الظالمين

 "และบรรดาวันเหล่านั้นเราได้ให้มันหมุนเวียนไประหว่างมนุษย์ และเพื่ออัลลอฮ์จะได้ทรงรับรู้บรรดาผู้ที่ศรัทธา และเพื่อคัดเลือกบรรดาผู้ตายชะฮีดจากพวกเจ้าและอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงรักใคร่ผู้อธรรมทั้งหลาย" (อาละอิมรอน / 140)

หลายฝ่าย ฟันธงว่า อารยธรรมอื่นๆ บนโลกขณะนี้ได้หมดความชอบธรรมที่จะเป็นแกนกลางในการนำประชาชาติไปแล้ว จึงเหลือเพียงอารยธรรมอิสลามเท่านั้นที่จะมาแทนที่อารยธรรมที่ล่มสลายไปแล้ว คำถามก็คือ แล้วประชาชาติมุสลิมมีความพร้อมที่จะอยู่ด้านบนสุดของล้อเกวียนมากน้อยแค่ไหน

 ที่มา : คณะกรรมการพัฒนาเครือข่ายสันติศึกษา สถาบันอัสสลาม มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา 
เขียนโดย ISLAMIC NATION ที่ 05:51

Facebook สถานการณ์โลก

อยากให้นักศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม
สนใจสามารถเข้าชม ตาม Link ด้านล่างนี้นะครับ
https://www.facebook.com/situation789

Saturday, April 19, 2014

คำถามเรื่อง "New World Order"

เสริจสิ้นเทศกาลหยุดยาวแล้ว นักศึกษาทุกท่าน เรากลับมาเรียน/แลกเปลี่ยนกันต่อนะครับ ต้องการให้นักศึกษา ศึกษาเรื่อง แนวคิด New World Order ทั้งจากบทความที่นำเสนอไว้ให้ หรือจากเอกสารอื่นๆ ที่นักศึกษาควรที่จะแสวงหา/ค้นคว้า เพิ่มเติม แล้วนำมาแลกเปลี่ยนกัน ศึกษาแล้ว ขอนำเสนอแนวคิดของนักศึกษาว่า "การเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อให้โลกนี้เราเป็นหนึ่งเดียวตามแนวคิดการจัดระเบียบโลกใหม่ นักศึกษาคิดว่า แนวคิดนี้ มีโอกาสเป็นจริงหรือไม่ เพราะเหตุใด


Saturday, March 22, 2014

จะเกิดอะไรขึ้นถ้ามีสงครามระหว่างดวงดาว(Star War)

นักศึกษาคิดว่า โลกนี้จะเป็นอย่างไร จะมีอะไรเกิดขึ้นถ้าโลกของเรามีสงครามระหว่างโลกกับดาวดวงอื่นๆ อย่างหนังเรื่อง STAR WAR

กรุณานำเสนอความคิดเห็น ผ่านการ comments. ใน blog นี้

อ.สุริยะ พิศิษฐอรรถการ
23/3/57


Sunday, March 9, 2014

เพื่อนเราวันนี้






















งานมอบหมาย ให้ดูวิดีโอ จากห้วข้อ "กลยุทธ์รองรับประชาคม ASEAN โดย ดร.สุรินทร์  พิศสุวรรณ









สาระสำคัญของการเรียนวันนี้ (9/3/57)

รายวิชาสัลคมโลก กล่าวได้ว่ามีเนืีอหาสาระกล้างมาก หากจะทำเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มีความจำเป็นต้องรู้ข้อมูลพื้นฐานของโลกนี้เช่นกัน อย่างน้อยที่สุดอาจจะต้องรู้วีาในโลกนี้มีประเทศอะไรบ้าง นักศึกษาจึงร่วมกันเขียน mindmap  ดังนี้



Tuesday, March 4, 2014

การสร้างสันติภาพโลก


แนวทางในการสร้างสันติภาพให้แก่โลก

เมื่อมองย้อนกลับไปดูเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ   พบว่าประสบการณ์ของมนุษยชาติที่สำคัญ  คือ  สงคราม  และสันติภาพ  สงครามได้นำความทุกข์ยากอย่างแสนสาหัสมาให้แก่มนุษยชาติ  ดังนั้นนานาชาติจึงได้พยายามหาแนวทางในการักษาสันติภาพให้แก่โลกดังเช่นองค์การสันติบาตรชาติ  ที่ได้จัดตั้งขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่  1  แต่ไม่สามารถรักษาสันติภาพเนื่องจากไม่ได้รับความร่วมมือจากประเทศสมาชิกบางประเทศ   จึงทำให้องค์การสันติบาตรชาติยุติบทบาทลงเมื่อ  พ.ศ.1939  ต่อมาเมื่อสงครามโลกครั้งที่  2  ยุติลง  นานาชาติได้ร่วมมือกันจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ  องค์การนี้ได้ทำหน้าที่รักษาสันติภาพต่อมาจนถึงปัจจุบัน  นอกจากองค์การนานาชาติแล้ว  ขณะเดียวกันได้มีเอกชนที่พยายามแสวงหาสันติภาพ  ดังเช่น  อัลเฟรด  โนเบล  (Alfred  Nobel)  มหาเศรษฐีชาวสวีเดนที่ได้มอบทรัพย์สินเพื่อตั้งเป็นรางวัลสันติภาพ  (international  peace  prizes)  เพื่อสนับสนุนให้บุคคลต่าง ๆทำงานด้านสันติภาพ  เช่น  มหาตมะ  คานธี  (Mahatma  Gandhi)  แม่ชีเทเรซา (Mother  Maria  Teresa)  ประธานาธิบดีเนลสัน  แมนเดลา  (Nelson  Mandela)  สำหรับผู้ได้รับรางวัลสันติภาพใน  พ.ศ.2547  ได้แก่  ชิริน  อีบาดี  (Shirin  Ebadi)  ซึ่งเป็นสตรีชาวอิหร่านที่สนับสนุนสิทธิสตรี  นอกจากนี้ยังมีนักประพันธ์ชาวรัสเซีย  ชื่อเลโอ  ตอลสตอย  (Leo  TolStoy)  ที่เขียนวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงระดับโลก  คือเรื่องสงครามและสันติภาพ (War  and  Peace)  ที่บรรยายเกี่ยวกับสภาพชีวิตของคนรัสเซียที่มีความทุกข์อย่างมากในระหว่างสงครามโลกครั้งที่  2   และความสงบที่เกิดขึ้นภายหลังสงคราม  นอกจากนี้ยังมีหน่วยงาน  สถาบันต่าง ๆอีกมากมาย  ที่พยายามสนับสนุนเรื่องการรักษาสันติภาพ

เหตุที่นานาชาติต่างพยายามสนับสนุนเรื่องการรักษาสันติภาพและการแสวงหาแนวทางเพื่อสร้างสันติภาพให้กับโลก  เนื่องจากผลกระทบที่เกิดจากสงครามโลกครั้งที่ และ  2   มีความแตกต่างจากสงครามที่ผ่านมา   ซึ่งสืบเนื่องจากการที่มนุษย์มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น  ประกอบกับความเจริญทางวิทยาศาสตร์  และเทคโนโลยีทำให้มนุษย์สามารถประดิษฐ์อาวุธที่มีประสิทธิภาพเพื่อใช้เข่นฆ่ากัน  เช่น  อาวุธปืนกล   รถถัง   เครื่องบินรบที่บินเร็วกว่าเสียง  ระเบิดปรมาณูและการทำสงครามนอกแบบที่ใช้วิธีก่อการร้าย  การใช้อาวุธเคมีชีวภาพ  เป็นต้น    ที่มีผลให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง  เพราะแต่ละฝ่ายไม่ได้จำกัดขอบเขตของสงคราม   ให้อยู่เฉพาะในพื้นที่ซึ่งมีความขัดแย้งหรือเฉพาะบุคคลที่เกี่ยวข้อง  เช่น  ผู้นำหรือทหาร  อีกทั้งสงครามยังส่งผลกระทบระยะยาว  โดยผู้ตกเป็นเหยื่อของสงครามมักเป็นเด็ก  คนชรา   และพลเรือนที่เป็นคนบริสุทธิ์รวมอยู่ด้วย  สิ่งที่น่าวิตกก็คือ  การทำสงครามในลักษณะนี้ได้กลายเป็นรูปแบบของสงครามหรือการก่อการร้ายในยุคปัจจุบัน  ทั้งนี้จะเห็นได้จากสงครามอิรักใน  ค.ศ. 2003  ที่นอกจากจะมีผู้สูญเสียชีวิตจากการสู้รบกันแล้ว  ยังมีการประหารชีวิตตัวประกันที่เป็นพลเรือนด้วย  สงครามที่เกิดขึ้นจึงมีผลทำให้โลกตกอยู่ในสภาวะแห่งความหวาดกลัว  ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้ไม่มีผู้ใด  หรือประเทศใดสามารถแก้ปัญหาได้ตามลำพัง  ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องช่วยกันแสวงหาแนวทางในการสร้างสันติภาพให้แก่โลก  ดังนี้

1.    ความร่วมมือระหว่างประเทศและระหว่างประชาชน
ความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งในและระดับภูมิภาคและระดับโลกอาจช่วยลดความขัดแย้งไดในระดับหนึ่ง
  ดังเช่น  ความพยายามขององค์การสหประชาชาติที่พยายามแก้ไขปัญหาวิกฤติในตะวันออกกลาง  เช่น  การสู้รบระหว่างปาเลสไตน์กับอิสราเอล  ที่เกิดขึ้นระหว่าง  ค.ศ. 1948-1973  และการฟื้นฟูและสร้างสันติภาพในประเทศอิรักเมื่อ  ค.ศ.2004  เป็นต้นมา    เป็นต้น

2.    การสร้างกระแสความคิดในการรักษาสันติภาพ
การสร้างกระแสความคิดในด้านนี้
   คือ  การเผยแพร่อุดมการณ์ในด้านสันติภาพและต่อต้านความรุนแรงทุกรูปแบบ  ดังเช่น   ที่จังหวัดฮิโรชิมาและนางาซากิจ  ประเทศญี่ปุ่น  ซึ่งเป็นเมืองที่ถูกทิ้งระเบิดปรมาณูในสงครามโลกครั้งที่สองนั้น   ในทุก ๆปี   จะมีชาวญี่ปุ่นและชาวต่างชาติเดินทางมาชุมนุมที่อนุสรณ์สถาน  เพื่อระลึกถึงวันที่เมืองนี้ถูกทิ้งระเบิด  การแสดงออกของคนเหล่านั้นไม่ใช่เป็นการเคียดแค้นที่เมืองถูกทิ้งระเบิด  แต่เป็นการชุมนุมเพื่อต่อต้านสงครามและสนับสนุนการรักษาสันติภาพ

3.    ส่งเสริมให้ประชาชาติยอมรับในความหลากหลาย
ความขัดแย้งระหว่างเชื่อชาติ
  ศาสนาและวัฒนธรรม  โดยพื้นฐานมักเกิดจากความคิดที่ไม่ยอมรับหรือกีดกันผู้อื่น  (exclusivism)  เพราะคิดว่าเชื้อชาติ  ศาสนาและวัฒนธรรมของตนดีที่สุด  จึงไม่ยอมรับคนที่มีเชื่อชาติ  นับถือศาสนาและมีวัฒนธรรมของคนอื่นที่แตกต่างจากตน  ซึ่งอาจก่อให้เกิดสงครามขึ้นได้ดังเช่น  สงครามคูเสดระหว่าง  ค.ศ. 1061-1291  หรือการที่อดอฟ  ฮิตเลอร์  ผู้นำเยอรมนีสั่งให้สังหารชาวยิวเพราะความเกลียดชังและหลงผิด  คิดว่าเชื่อชาติอารยันของตนมีความเจริญกว่าเชื้อชาติอื่น  แต่ถ้าได้มีการส่งเสริมให้ประชาชาติยอมรับในความหลากหลายที่รวมไปถึงเชื้อชาติ  ศาสนาและวัฒนธรรม  ย่อมก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน  ทำให้สามารถร่วมมือกับผู้อื่นเพื่อรักษาสันติสุขให้แก่โลก  แนวความคิดในเรื่องการยอมรับความหลากหลายนี้  ทำได้โดยการฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ ซึ่งจะเป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างความสุขให้กับตนเองของสังคมเพราะเราไม่สามารถจะทำให้ผู้อื่นเป็นเหมือนตัวเราได้อย่างที่เราต้องการเช่นเดียวกับที่ผู้อื่นไม่อาจทำให้เราเหมือนกับเขาดังที่เขาต้องการ  การสร้างความเข้าใจผู้อื่นที่มีความแตกต่างจากเรา  จึงเป็นแนวทางสำคัญในการแสวงหาสันติภาพ

4.    การนำคำสั่งสอนในศาสนามาปฏิบัติ
ศาสนาสำคัญในโลกล้วนสร้างบรรทัดฐานที่ทำให้สังคมมีความสงบสุข
  ดังนั้นศาสนาสำคัญของโลก  จึงเห็นคุณค่าของสันติภาพ   ดังเช่น  พระพุทธศาสนาได้สอนเรื่องการมองคนในสังคมว่าเป็นเพื่อนร่วมทุกข์มีการเกิด  แก่  เจ็บ  ตายด้วยกันทั้งสิ้น   ผู้คนจึงควรมีเมตตาและมีขันติธรรมในการอยู่ร่วมกัน
เขียนโดย DaBusVin KaSemPiMonPorN ที่ 21:13

การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ


การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจไทยและโลก และปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย

สาระสำคัญ
ในยุคโลกาภิวัตน์ประเทศต่าง ๆ ต้องประสานประโยชน์และพึ่งพากันอย่างเป็นระบบ จึงต้องรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ และปัจจุบันเป็นโลกไร้พรมแดนมีการซื้อขายทางอินเทอร์เน็ต มีเครือข่ายโยงถึงกันได้สะดวกรวดเร็ว ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจไทยและโลก แต่ทุกประเทศมีปัญหาเศรษฐกิจแตกต่างกัน ประเทศไทยก็มีปัญหาเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ไขปัญหา

1.การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ (Economic Integration) หมายถึง การรวมตัวของประเทศต่างๆ เพื่อ ร่วมมือกันในการเสริมสร้างและรักษาผลประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจที่เน้นด้านการค้าโดยการพยายามหาวิธีการหาลู่ทางขยายการค้าระหว่างกัน มีการกำหนดปริมาณนำเข้า เป็นต้น

ความจำเป็นในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ความเสียหายจากสงครามทำให้ประเทศต่างๆ อยู่ในภาวะความอดอยาก ประเทศเหล่านั้นจึงพยายามร่วมมือฟื้นฟูเศรษฐกิจของโลก ทำให้เศรษฐกิจและการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศขยายตัวมากขึ้น แต่เนื่องจากประเทศด้อยพัฒนามีทรัพยากรจำกัดและศักยภาพในการผลิตต่ำ และแต่ละประเทศก็พยายามตั้งกำแพงภาษี กำหนดโควตาสำหรับสินค้านำเข้าหรือใช้นโยบายคุ้มครองสินค้าที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ ซึ่งเป็นการค้าระหว่างประเทศที่ไม่ได้ยึดหลักการค้าเสรี จึงทำให้ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการค้าระหว่างประเทศลดน้อยลง

จากความไม่เป็นธรรมในด้านการค้าระหว่างประเทศซึ่งมีการได้เปรียบและเสียเปรียบกันประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน ที่ผลิตสินค้าคล้ายคลึงกัน และประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจร่วมกัน ได้มีการรวมกลุ่มกันและขยายการรวมกลุ่มเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านเศรษฐกิจสำคัญโดยมีหลักการและเป้าหมายของการรวมกลุ่ม ดังนี้

1. การแก้ไขระบบภาษีศุลกากร เพื่อปรับปรุงระบบภาษีศุลกากรของประเทศสมาชิกให้เหมือนกันและเพื่อเลือกปฏิบัติกับประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก

2. การจัดตั้งเขตการค้าเสรี เพื่อยกเลิกข้อจำกัดทางการค้าในด้านปริมาณสินค้านำเข้าและการตั้งกำแพงภาษีระหว่างประเทศสมาชิก

3. การเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตอย่างเสรี เพื่อให้ปัจจัยการผลิตของบรรดาประเทศสมาชิกสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี เช่น แรงงานของประเทศสมาชิกแต่ละประเทศ สามารถไปหางานทำในประเทศสมาชิกได้ทุกประเทศ เป็นต้น

4. การกำหนดนโยบายร่วมกันเพื่อให้มีการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจในด้านการค้า การเงินและการคลัง การขนส่ง อุตสาหกรรมการเกษตร ตลอดจนนโยบายทางเศรษฐกิจในด้านการเมืองและสังคมเพื่อให้สอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยให้ประเทศสมาชิกเลือกทำการผลิตสินค้าที่ถนัดที่สุดและทำความตกลงจะไม่ผลิตสินค้าแข่งขันกัน

2.องค์การระหว่างประเทศเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

องค์การระหว่างประเทศเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่จะนำมากล่าวในที่นี้จะเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาคที่ไทยมีความสัมพันธ์ด้วยที่สำคัญ ได้แก่

2.1องค์การการค้าโลก ( The World Trade Organization : WTO)จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 อันเป็นผลมาจากการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบอุรุกวัยภายใต้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยศุลกากรและการค้าหรือแกตต์ (General Agreement on Tariff and Trade : GATT) ภายหลังที่นานาประเทศได้พยายามมากว่า 40 ปี เพื่อก่อสร้างองค์กรขึ้นมาดูแลเกี่ยวกับการค้าโลกในนามองค์การการค้าโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ดูแลการค้าโลกให้เป็นไปโดยเสรีและเป็นธรรม จัดการดำเนินงานให้เป็นไปตามข้อตกลงทางการค้า การต่อรองทางการค้าทบทวนนโยบายทางการค้าของประเทศ ยุติปัญหาข้อขัดแย้ง และช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในด้านนโยบายการค้า โดยสรุปแล้วบทบาทที่เด่นชัดที่สุดของการค้าโลก คือ การแก้ไขข้อขัดแย้งทางการค้าเพื่อให้เสรีทางการค้ามากขึ้น

ประเทศไทยเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2537 เป็นประเทศสมาชิกลำดับที่ 59 ถือว่าเป็นประเทศที่ร่วมในการก่อตั้งองค์การการค้าโลก การเป็นสมาชิกองค์การค้าโลกทำให้ประเทศไทยมีพันธะต้องปฏิบัติตามกฏและระเบียบขององค์การการค้าโลก ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายระหว่างประเทศในรูปแบบความตกลงพหุภาคี กฎและระเบียบดังกล่าวนี้มีผลเหนือกฏหมายภายในของประเทศสมาชิก ซึ่งสมาชิกแต่ละประเทศมีหน้าที่ที่จะไปแก้กฏหมายภายในให้สอดคล้องกัน

2.2สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน (Association of Southeast Asia Nations : ASEAN)ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สังคมและวัฒนธรรม และการเมืองระหว่างประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีสมาชิก เริ่มแรก 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิกเพิ่มเติม อีก 5 ประเทศ คือ บรูไน (พ.ศ. 2527) เวียดนาม (พ.ศ. 2528) ลาว พม่า (พ.ศ. 2540) และกัมพูชา (พ.ศ. 2542)
 
เมื่อ พ.ศ. 2534 ได้เกิดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและการค้าในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาเหนือ ทำให้อาเซียนเริ่มตระหนักว่าความร่วมมือดังกล่าวจะส่งผลทำให้การค้าและการลงทุนในภูมิภาคเกิดการขยายตัวและเกิดมาตรการการกีดกันทางค้าจากประเทศนอกกลุ่ม ดังนั้นเมื่อกลางปี พ.ศ. 2534 อาเซียนจึงได้เริ่มให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟตา ( SEAN Free Area : AFTA) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าอาเซียนในตลาดโลก ซึ่งจะช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมาสู่ภูมิภาคนี้ โดยสามารถดำเนินการได้ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2536 ในการลดอัตราภาษีศุลการกร สินค้านำเข้าให้เหลือ 0-

5 เปอร์เซ็นต์ ภายในระยะเวลา 15 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2536 สิ้นสุดวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 ต่อมาได้มีมติให้ลดยะยะเวลาดำเนินการจาก 15 ปี โดยเหลือ 10 ปี และให้นำสินค้าเกษตรไม่แปรรูปเข้ามาลดภาษี รวมทั้งสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งเคยได้รับการยกเว้นการลดภาษีชั่วคราวเข้ามาร่วมลดภาษีนี้ด้วย

3.กลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

3. 1ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย - แปซิฟิก (Asia Pacific Economic Corporation : APEC) เป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก จัดตั้งขี้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 เพื่อตอบสนองการเพิ่มขึ้นของภาวะการพึงพาทางเศรษฐกิจ (Enterdependence) ที่มุ่งเน้นความเจริญเติบโต และการพัฒนาที่ยั่งยืนของภูมิภาคและโลกกลุ่มเอเปกมีลักษณะการเป็นภูมิภาคเปิด (Open Bigionalism) ซึ่งแตกต่างไปจากความร่วมมือของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเดียวกันและยังส่งเสริมระบบการค้าหลายฝ่ายด้วยพร้อมกัน


3.2 สหภาพยุโรป (European Union : EU)พัฒนามาจากประชาคมยุโรปที่จัดตั้งขึ้นเพื่อยกระดับทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปให้ดีขึ้น โดยอาศัยความร่วมมือของประเทศสมาชิก โดยเป็นกลุ่มที่รวมองค์การทางเศรษฐกิจ 3 องค์การเข้าด้วยกันคือ ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปหรือตลาดร่วมยุโรป (EEC) ประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรป (EAEC) และประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้ายุโรป (ECSE) ซึ่งปัจจุบันสหภาพยุโรปมีสมาชิกรวม 25 ประเทศ คือ เยอรมัน ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก อิตาลี สหราชอาณาจักร เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ กรีซ สเปน โปรตุเกส สวีเดน ออสเตรีย ฟินแลนด์ ฮังการี เอสโตเนีย ไซปรัส เช็ก ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย สโลวัก ซึ่งการรับสมาชิกใหม่เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 อีก 10 ประเทศ นับเป็นการขยายสมาชิกภาพครั้งใหญ่ที่สุด จึงต้องยกเลิกมาตรการระเบียบและกฎหมายที่ใช้อยู่เดิม แล้วมาใช้มาตราการและระเบียบกฎหมายของสหภาพยุโรป ซึ่งทั้ง 10 ประเทศที่เป็นสมาชิกใหม่นี้จะยังไม่ได้รับสิทธิเทียบเท่าสมาชิกเดิม เช่น เรื่องการอพยพย้ายถิ่นของประชาชน 10 ประเทศนี้จะทำได้ต่อเมื่อประเทศเหล่านี้จะเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปผ่านไปแล้ว 7 ปี



4.ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
ในระบบเศรษฐกิจแบบเปิด กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศในเรื่องการค้า เศรษฐกิจและการ ดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจจะมีผลต่อรายได้ประชาชาติโดยตรง หน่วยงานสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ ต่างมีส่วนกำหนดให้ระบบเศรษฐกิจไทยมีการพัฒนาโดยการพึ่งพาต่างประเทศกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้แก่ การค้าระหว่างประเทศ การชำระเงินระหว่างประเทศ การลงทุนระหว่างประเทศ และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ



การค้าระหว่างปรเทศ
การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่างๆ ประเทศที่ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เรียกว่า "ประเทศคู่ค้า" สินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า "สินค้าเข้า" (imports) และสินค้าที่แต่ละประเทศขายไปเรียกว่า "สินค้าออก" (exports) ประเทศที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้นำเข้า" ส่วนประเทศที่ขายสินค้าให้ต่าง ประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้ส่งสินค้าออก" โดยทั่วไปแล้ว แต่ละประเทศจะมีฐานะเป็นทั้งประเทศ ผู้นำสินค้าเข้า และ ประเทศผู้สินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศต่างๆ มีการผลิตสินค้า แตกต่างกัน เช่น ประเทศไทยส่ง

สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ

1. ปริมาณและชนิดของปัจจัยการผลิต การค้าระหว่างประเทศ เกิดขึ้นเนื่องจากประเทศต่างๆ มีปัจจัยหรือทรัพยากรการผลิตในปริมาณไม่เท่ากัน หรือไม่ เหมือนกัน ปัจจัยการผลิตใด ถ้ามีมากจะมีผลทำให้ราคาปัจจัยนั้นต่ำและจะส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิต และราคาสินค้า ต่ำลงไปด้วย

2. ความเหมาะสมของปัจจัยการผลิต ปัจจัยการผลิตมิได้มีคุณสมบัติเหมือนกันทั้งหมด เช่น ประเทศที่มีแรงงานมาก มิได้หมายความว่า จะต้องสามารถผลิตและส่งออกสินค้าทุกชนิดที่เน้นแรงงาน สินค้าบางชนิดต้องการแรงงานที่มีประสิทธิภาพ หรือความชำนาญเป็นพิเศษ

3. ปริมาณการผลิต การผลิตในปริมาณมาก จะมีผลทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลง แต่การผลิตในปริมาณมาก ๆ นั้น จะต้องมีตลาดรองรับผลผลิต ตลาดภายในประเทศ อาจจะมีขนาดไม่ใหญ่พอที่จะรองรับผลผลิตทั้งหมดได้ จึงต้องมีตลาดต่างประเทศไว้รองรับผลผลิตส่วนเกิน

4. ต้นทุนการขนส่ง ค่าขนส่งวัตถุดิบ และค่าขนส่งสินค้าสำเร็จรูป
เป็นต้นทุนส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของสินค้า ดังนั้นความแตกต่างในต้นทุนการขนส่งจะก่อให้เกิดความแตกต่างในราคาสินค้าเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งการค้าระหว่างประเทศ

5.การลงทุนระหว่างประเทศ
การลงทุนระหว่างประเทศ หมายถึง การที่รัฐบาลหรือเอกชนของประเทศหนึ่งนำเงินไปลงทุนดำเนินธุรกิจ เพื่อแสวงผลกำไรในอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.
การลงทุนโดยตรง ( Direct Investment ) ในปัจจุบันการลงทุนโดยตรงส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของการดำเนินงานโดยวิสาหกิจ และมีสถาบันการเงินของเอกชนเป็นผู้จัดหาเงินทุนสำหรับโครงการต่าง ๆ ให้
2.
การลงทุนโดยอ้อม ( Indirect Investment ) เป็นการลงทุนที่ผู้ลงทุนต่างชาติไม่ได้เข้ามามีส่วนดำเนินกิจการโดยตรง ได้แก่ การลงทุนในรูปเงินกู้ ( Loan ) , การลงทุนแบบรับสินเชื่อจากผู้ขายและอื่น ๆ ซึ่งส่วนมากเป็นการลงทุนโดยการซื้อหลักทรัพย์หรือพันธบัตรของต่างประเทศ
การโยกย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 3 กรณี คือ
1.
เพื่อปรับดุลการชำระเงินให้สมดุล
2.
เพื่อชำระหนี้สินต่างประเทศซึ่งจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ
3.
แบบโดยตรงเพื่อหวังผลกำไรที่เกิดจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยระหว่างประเทศ ต้นทุนการผลิต ภาวะการตลาด และนโยบายของรัฐบาลที่รับการลงทุน

6.ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ (Intemation : Balance of Payment) หมายถึง บัญชีบันทึกยอดรับ รายจ่ายทางด้านการค้าและการลงทุนทั้งสิ้น ที่ประเทศได้จ่ายให้หรือรายรับจากต่างประเทศในระยะเวลา 1 ปี

บัญชีดุลการค้าชำระเงินเป็นการเก็บรวบรวมสถิติการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างประเทศโดยจัดแบ่งเป็น การแลกเปลี่ยนสำหรับสินค้าที่ประเทศเราต้องการ เรียกว่า เดบิต (Debits)

การแลกเปลี่ยนสำหรับสินค้าและบริการที่จัดส่งให้กับคนในต่างประเทศสำหรับสิ่งที่เขาต้องการ เรียกว่า เครดิต (Credit) ดุลการค้าชำระเงินแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

1. ดุลการชำระเงินเกินดุล หมายถึง ยอดรายรับรวมของประเทศมากกว่ารายจ่ายรวมจากการค้าขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศ เช่น มูลค่าส่งออกมากกว่ามูลค่านำเข้า เป็นต้น

2. ดุลการชำระเงินขาดดุล หมายถึง ยอดรายรับรวมของประเทศน้อยกว่ารายจ่ายรวมจากการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างประเทศ เช่น มูลค่าการนำเข้าสินค้ามากกว่ามูลค่าการส่งออก เป็นต้น

3. ดุลการชำระเงินสมดุล หมายถึง ภาวะที่ประเทศมีรายรับรวมเท่ากับรายจ่ายรวมจากการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างประเทศ

ดุลการชำระเงิน ประกอบด้วยบัญชีสำคัญ 3บัญชี คือ

1. บัญชีเดินสะพัด (Current Account) ประกอบด้วย

- ดุลการค้า หมายถึง บัญชีที่แสดงการเปรียบเทียบมูลค่าสินค้าออกกับมูลค่าของสินค้านำเข้า เช่นถ้า มูลค่าการส่งออกสินค้ามากกว่ามูลค่าการนำเข้า หมายความว่า ประเทศนั้นจะมีรายรับจากการส่งออกสินค้ามากกว่ารายจ่ายในการสั่งสินค้าเข้า เรียกว่า ดุลการค้าเกินดุล แต่ในกรณีที่มูลค่าการส่งออกสินค้าน้อยกว่ามูลค่าการนำเข้า นั้นคือ ประเทศนั้นมีรายรับจากการส่งออกสินค้าน้อยกว่ารายจ่ายในการสั่งสินค้าเข้า เราเรียกว่า ดุลการค้าขาดดุล แต่ถ้าหากว่าผลต่างทั้งสองมีค่าเป็นศูนย์ เราก็จะเรียกว่า ดุลการค้าสมดุล

- ดุลการบริการ หมายถึงบัญชีที่แสดงถึงการค้าระหว่างประเทศในด้านบริการ เช่น ค่าระวางประกันภัย ค่าขนส่ง รายได้จากการท่องเที่ยว รายได้จากการลงทุน รายได้จากแรงงานและบริการอื่น ๆ

- รายได้ เป็นผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุน และประกอบกิจการในต่างประเทศ เช่น ดอกเบี้ย เงินเดือน เงินปันผล เป็นต้น

2. บัญชีทุนเคลื่อนย้าย (Capital Movement Account) การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่าง

ประเทศ 2 แบบ คือ

2.การลงทุนโดยตรง เช่นญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนสร้างโรงงานประกอบรถยนต์ใน

ประเทศไทย เป็นต้น

2.2 การลงทุนโดยทางอ้อม เช่น การนำเงินไปซื้อหุ้นหรือฝากธนาคาร พาณิชย์ ผลตอบแทนที่ได้ คือ เงินปันผลหรือดอกเบี้ย

3. บัญชีเงินบริจาคหรือเงินโอน (Transfer Payment) เป็นบัญชีที่บันทึกรายการเกี่ยวกับเงินบริจาค เงินช่วยเหลือ และเงินโอนต่าง ๆ ที่ได้รับหรือที่ประเทศโอนไปให้ต่างประเทศ

7.การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ

อัตราแลกเปลี่ยนเงิน (Exchange rate) คือค่าของเงินสกุลหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับค่าของเงินสกุลอื่นๆ โดยเปรียบเทียบกับเงินสกุลเดียวหรือหลายสกุลก็ได้ ตัวอย่างเช่น อัตราแลกเปลี่ยน 33 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ หมายความว่า เงิน 1 ดอลลาร์ สามารถแลกเป็นเงินไทยได้ 33 บาท

การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศแต่เดิม ประเทศไทยมีระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่แบบตะกร้าเงิน (Basket of Currencies) อัตราแลกเปลี่ยนเงินอยู่ประมาณ 25 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
หลังจากนั้นประเทศไทยได้ประสบวิกฤตทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ.2540 (วิกฤตต้มยำกุ้ง) ในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2540 ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ประกาศ ปรับเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นแบบลอยตัวกำหนดโดยกลไกตลาด (Managed Float) ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงไปเป็น 30 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ และ อ่อนตัวลงเรื่อยๆ จนแตะ 57 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐในปีถัดมา หลังจากนั้นค่าเงินจึงค่อยๆปรับแข็งค่าขึ้นอยู่ที่ประมาณ 40 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ

จากกราฟ เห็นได้ว่าในปี 1996-กลางปี1997 นั้นไทยยังคงใช้ระบบแลกเปลี่ยนคงที่แบบตะกร้าเงินอยู่ อัตราแลกเปลี่ยนเงินอยู่ที่ประมาณ 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
กลางปี 1997( พ.ศ.2540) อัตราแลกเปลี่ยนได้สูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจาก มีนโยบายเปิดเสรีทางการเงิน และนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ทำให้คนไทยไปกู้เงินจากต่างประเทศมาลงทุน
ทำให้เกิดหนี้สินเป็นจำนวนมาก และมีการเก็งกำไรค่าเงินบาทจากต่างชาติ จนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เข้ามาปกป้องค่าเงินบาท จนทุนสำรองระหว่างประเทศหมด
และต้องประกาศลอยตัวค่าเงินบาทตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
กลางปี 1998(พ.ศ.2541) เศรษฐกิจประเทศไทยเริ่มฟื้นตัว ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนตกลงมาอยู่ที่ประมาณ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ตั้งแต่ปี1999 อัตราแลกเปลี่ยนจะเป็นไปตามกลไกตลาด มีการแซกแซงจากธนาคารแห่งประเทศไทยบ้าง ให้เงินบาออ่อนตัวเพื่อธุรกิจการส่งออกและท่องเที่ยว
หลังจากปี2006 ค่าเงินดอลลาร์เริ่มตก ประกอบกับค่าเงินหยวนของจีนที่แข็งค่าขึ้น ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย

8.ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย



 
 
สรุปการค้าระหว่างประเทศของไทย

เดือนมีนาคม และในช่วงมกราคมมีนาคม 2554

1. การส่งออก

1.1 เดือนมีนาคม 2554 ส่งออกมูลค่า 646,280.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2553 ร้อยละ 20.8 และเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาร้อยละ 12.8 เมื่อคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ มีมูลค่า 21,259.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2553 ร้อยละ 30.9 และเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ร้อยละ 12.7

1.2 ในช่วงมกราคมมีนาคม ปี 2554 ส่งออกมูลค่า 1,720,375.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2553 ร้อยละ 18.0 และเมื่อคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ ส่งออกมูลค่า 56,874.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.3

2. การนำเข้า

2.1 เดือนมีนาคม 2554 นำเข้ามูลค่า 599,372.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2553 ร้อยละ 18.6 และเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาร้อยละ 14.0 เมื่อคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ นำเข้ามูลค่า 19,472.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2553 ร้อยละ 28.4 และเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาร้อยละ 13.9

2.2 ในช่วงมกราคมมีนาคม ปี 2554 นำเข้ามูลค่า 1,658,615.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2553 ร้อยละ 17.8 และเมื่อคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ นำเข้ามูลค่า 54,177.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.0

3. ดุลการค้า

3.1 เดือนมีนาคม 2554 ไทยเกินดุลการค้ามูลค่า 46,907.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2553 ร้อยละ 58.2 และเมื่อคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ ไทยเกินดุลการค้ามูลค่า 1,786.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2553 ร้อยละ 54.7

3.2 ในช่วงมกราคมมีนาคม ปี 2554 ไทยเกินดุลการค้ามูลค่า 61,760.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2553 ร้อยละ 23.4 และเมื่อคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ ไทยเกินดุลการค้ามูลค่า 2,697.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2553 ร้อยละ 34.5

ข้อมลทั้งหมดได้มาจาก



http://www.ops3.moc.go.th/thtrade/sarup.htm